กระดาษ เป็นวัสดุที่แพร่หลายและนิยมมากที่สุดเพราะสามารถออกแบบสร้างสรรค์เป็น
บรรจุภัณฑ์ได้มากมายหลายชนิดอย่างไม่มีสิ้นสุด ซึ่งอาศัยคุณสมบัติทางกายภาพของ
กระดาษที่สามารถ ตัด ดัด พับ งอ ได้ง่ายมากำหนดสร้างเป็นรูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ
    ดังนั้นคุณสมบัติของกระดาษที่ทำมาจากเยื่อไม้ธรรมดา จึงได้รับการพัฒนามากขึ้น
เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เป็นโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และทำหน้าที่บรรจุห่อหุ้มผลิตภัณฑ์
ได้หลายประเภทขึ้น  

    กล่องกระดาษลูกฟูก นับได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ในการใช้บรรจุสินค้า เพื่อ
การจัดส่งสำหรับสินค้าเกือบทุกชนิด ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่ทำให้กล่องกระดาษลูกฟูกได้
รับความนิยมในการออกแบบเพื่อบรรจุสินค้า เนื่องจาก
   
   - สามารถป้องกันสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหาย
   - สามารถพิมพ์ลวดลายเพื่อความสวยงาม อีกทั้งเพื่อแสดงข้อมูลของสินค้า
   - วัตถุดิบมีหลากหลายชนิด และมีทดแทนได้
   - น้ำหนักเบา สามารถเก็บในลักษณะพับแบนได้
   - ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม
   - ไม่มีปัญหาในการกำจัดภาชนะหลังการใช้งาน สามารถนำมาหมุนเวียนได้
   - ต้นทุนต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น
 
           
                         
บรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก
 - กระดาษลูกฟูกสามารถทนต่อแรงกดทั้งด้านบนด้านข้าง รวมถึงมีการทดสอบความต้านทานแรงดันทะลุ สามารถนำมาเรียงซ้อนกันได้
  - กระดาษลูกฟูกสามารถออกแบบรูปแบบได้หลากหลายชนิด  อีกทั้งยังนำมาพิมพ์ให้มีสีสันลวดลาย
ตามแบบที่ต้องการได้
  - กระดาษลูกฟูกไม่มีการใช้วัสดุมีพิษในการผลิตกระดาษ หรือทำลายสภาพแวดล้อม
 - กระดาษลูกฟูกที่ใช้แล้วสามารถนำกลับมารีไซเคิ้ลได้ มากกว่า 70% กระดาษลูกฟูกส่วนใหญ่จะได้มา
จากการรีไซเคิ้ล ทำให้กระดาษลูกฟูกนับได้ว่าเป็น
บรรจุภัณฑ์ที่มีอัตราการถูกนำไปรีไซเคิ้ลมากที่สุด

   

คุณสมบัติที่สำคัญของกล่องกระดาษลูกฟูก

1. น้ำหนักมาตราฐาน (Combined Board Basis Weight)
หมายถึง น้ำหนักรวมของแผ่นกระดาษลูกฟูก เป็นกรัมต่อพื้นที่แผ่นกระดาษลูกฟูก 1 ตารางเมตร (g/m2)

2. การต้านแรงดันทะลุ (Bursting Strength)
หมายถึง ความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูก ที่จะต้านแรงดันที่กระทำบนชิ้นทดสอบด้วยอัตราที่เพิ่มข้นอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้ชิ้นทดสอบนั้นขาดมีหน่วยเป็นกิโลปาสคาล (kPa) หรือกิโลกรัมแรงต่อตารางเซนติเมตร(kgf/cm2) ซึ่งความต้านทานแรงดันทะลุของกระดาษลูกฟูก ประมาณได้จากผลรวมของความต้านแรงดันทะลุของกระดาษที่ใช้ทำเป็นผิวด้านใน และด้านนอกของแผ่นกระดาษลูกฟูก

3. การต้านแรงกดลอนลูกฟูก (Flat Crush Resistance)
หมายถึง ความสามารถของลูกฟูกในแผ่นกระดาษลูกฟูกที่จะต้านแรงกดบนลอนลูกฟูก ในแนวราบจนลอนเสียรูป มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อรารางเซ็นติเมตร (kgf/cm2) หรือเป็นกิโลปาสคาล (kPa) ค่าที่ได้มีความสัมพันธ์กับความหนาของแผ่นกระดาลูกฟูก และความสามารถในการป้ดงกันการกระแทก (cushioning ablity) ของกล่องกระดาษลูกฟูก

4. การต้านแรงกดตามแนวตั้ง (Edge Crush Resistance)
หมายถึง ความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูกที่จะต้านแรงกด เมื่อกระทำในทิศทางเดียวกับลูกฟูก (แนวตั้ง) จนกระทั่งชิ้นทดสอบยุบตัว มีหน่วยเป็นนิวตันต่อเมตร (N/m) การทดสอบนี้มีความสำคัญต่อแผ่นกระดาษลูกฟูกมากเพระเป็นค่าที่บอกถึงความแข็ง แรงของแผ่นกระดาษลูกฟูก ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของกล่องกระดาษลูกฟูก หรือ ค่าการรับแรงกดของกล่องนั่นเอง

5. การต้านแรงทิ่มทะลุ (Puncture Resistance)
หมายถึง ความสามารถของแผ่นกระดาษลูกฟูกที่จะต้านแรงทิ่มทะลุ มีหน่วนเป็นจูน (J) คุณสมบัตินี้มีความสัมพันธ์กับความเหนียว และการต้านแรงฉีกขาดของแผ่นกระดาษลูกฟูก เพระเป็นค่าของความต้านทานต่อช็อคทางกล (mechanical shock) จากภายนอกโดยตรง

6. การต้านแรงกดของกล่อง (Box Compression Strength)
หมายถึง ความสามารถของกล่องในการต้านแรงกดที่กระทำบนกล่องด้วยอัตราความเร็วสม่ำเสมอ จนกล่องยุบเสียรูป มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)  หรือ กิโลกรัมแรง (kgf)คุณสมบัตินี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความแข็งแรงของกล่องในการเรียง ซ้อน แต่ค่าทีได้ไม่ได้บอกถึงน้ำหนักในการเรียงซ้อนตริง ๆ เพราะในทางปฏิบัติ จำเป็นต้องมีตัวคูณเพื่อความปลอดภัย (safety factor ) ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ความชื้นในสภาวะอากาศ ระยะเวลาในการเก็ล รูปแบบในการเรียงซ้อนและลัษณะการขนถ่าย

7. การต้านแรงกระแทก เมื่อตก (Drop Resistance)
หมายถึง ความสามารถของกล่อง (และสินค้า) ในการต้นแรงกระแทกกับพื้นเมื่อปล่อยให้ตกจากที่สูง จุดประสงค์ของการทดสอบนี้ เพื่อดูความแข็งแรงของกล่อง ในการป้องกันสินค้ามิให้เสียหาย เมื่อมีการตกหล่นในระหว่างการขนถ่ายและขนส่งรายงานผลเป็นจำนวนครั้ง ที่กล่องเริ่มยุบเสียหาย และลักษณะการเสียหาย

8. การต้านแรงสั่นสะเทือน (Vibration Resistance)
หมายถึง การสั่นสะเทือนเกิดขึ้นกับภาชนะบรรจุสินค้าได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งและปัจจัยอื่น ๆ จุดประสงค์ของการทดสอบนี้ เพื่อประเมินความแข็งแรงของภาชนะบรรจุ วิธีการบรรจุสินค้ารวมทั้งดูความเหมาะสมของวัสดุกันกระแทก ตลอดจนการปิดภาชนะบรรจุว่าสามารถป้องกันความเสียหาย เนื่องจากการสั่นสะเทือนได้อย่างไร

9. การต้านแรงกระแทกบนพื้นเอียง  (incline Impact Resistance)
หมาย ถึง ความสมารถของภาชนะบรรจุ (มักใช้กับกล่อง) ในการต้านแรงกระแทกกับแผ่นกั้น เมื่อปล่อยให้ตกไปตามพื้นเอียงที่ทำมุม 10 องศา กับแนวราบ การทดสอบนี้ มีจุดประสงค์เพื่อดูว่าภาขนะบรรจุสามารถป้องกันสินค้าได้เพียงไร เมื่อมีการกระแทกบนพื้นเอียง ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนถ่ายและขนส่ง

10. การใช้กล่องหกเหลี่ยมที่หมุนได้ (Hexagonal Revolving Drum Test)
เครื่อง มือที่ใช้ทดสอบมีลักษณะคล้ายกล่องที่หมุนได้เป็นหกเหลี่ยม โดยใช้ภาชนะมีสินค้าบรรจุอยู่ภายใน ปะทะกับแผ่นกั้นภายในกล่อง แผ่นกั้นนี้จะทำให้ภาชนะบรรจุตกกระแทกตามจุดต่าง ๆ การทดสอบนี้ใช้ประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับภาชนะบรรจุในระหว่างการ ขนส่งและขนถ่ายที่ขาดความระมัดระวัง ความเหมาะสมในการเลือกใช้วัสดุกันกระแทกในการบรรจุสินค้า รวมทั้งการตรวจคุณภาพของรอยต่องของกล่อง (Manufacturer's joint) ด้วย

| หน้าหลัก | เกี่ยวกับเรา | เกี่ยวกับกระดาษลูกฟูก | สินค้า | การชำระเงิน | สมัครงาน | ติดต่อเรา |
www.qualitycartons.com
บริษัท ควอลิตี้ คาร์ตอนส์ จำกัด 153 ม.17 ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10570
Tel : 0-2315-1533,0-2315-2319-21,0-2330-3543 Fex : 0-2315-1482,0-2330-3544